Source: Just Love: A Framework for Christian Sexual Ethics (2008) by Margaret A. Farley, Chapter 6 (Framework for a Sexual Ethics)
เพศสัมพันธ์และความรัก
เพียงเพราะเพศสัมพันธ์เกิดจากความรักนั้นไม่เพียงพอที่จะสรุปได้ว่าเพศสัมพันธ์นั้นเป็นสิ่งที่ดี ความรักเองก็เป็นปัญหาทางจริยธรรม ไม่ใช่คำตอบ มนุษย์เรามีประสบการณ์ความรักในหลายรูปแบบ บางครั้งอาจจะดี หรือบางทีอาจจะร้ายได้ ดังนั้นสิ่งที่เราต้องหาคำตอบก็คือ ความรักแบบไหนที่เป็นสิ่งที่ดี ยุติธรรม และเป็นรักแท้
ความรักที่แท้จริง ถูกต้องดีงาม และยุติธรรม คือการตอบสนองต่อความเป็นจริงของผู้ที่ถูกรัก เป็นการหลอมรวมเป็นหนึ่งเดียวของผู้รักและผู้ถูกรัก และเป็นการชูใจผู้ถูกรักอย่างเหมาะสม
เพศสัมพันธ์และความยุติธรรม
ความยุติธรรม คือ การให้สิ่งที่แต่ละคนสมควรได้รับ เพศสัมพันธ์ที่ยุติธรรมจึงเป็นเพศสัมพันธ์ที่แต่ละบุคคลได้รับการเสริมสร้างตามความเป็นจริงของบุคคลนั้น ทั้งตามที่เป็นอยู่ และตามศักยภาพที่เป็นไปได้
สิ่งที่เราควรพิจารณาเพื่อเข้าใจความเป็นจริงของบุคคล
- บุคคลเป็นโครงสร้างที่ซับซ้อน
- มนุษย์แสวงหาความสัมพันธ์
- บุคคลอยู่ในโลกนี้
- ความจริงตามที่เป็นอยู่ และตามศักยภาพที่เป็นไปได้
เรามีทั้งร่างกายและจิตวิญญาณ มีความต้องการอาหาร เสื้อผ้า ที่อยู่อาศัย มีศักยภาพในการสืบพันธุ์ แต่ก็มีเสรีภาพในการเลือก และมีความสามารถในการคิดและรู้สึก
ทั้งความสัมพันธ์กับบุคคลอื่น ความสัมพันธ์ในสังคม และความสัมพันธ์กับพระเจ้า เรามีศักยภาพในการแลกเปลี่ยนความรู้ ความรัก ความปรารถนา ความรู้สึกต่างๆ
ความเป็นจริงของบุคคลจึงร่วมไปถึงประวัติศาสตร์ สังคม การเมือง เศรษฐกิจ และวัฒนธรรม ที่บุคคลนั้นใช้ชีวิตอยู่ แต่ละคนล้วนมีความสัมพันธ์กับสถาบันและระบบต่างๆ ในสังคม
พิจารณาความจริงตามสภาพที่เป็นอยู่ แต่ต้องคำนึงถึง การพัฒนา รวมถึง การเสื่อมถอย ที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคตด้วย
แต่ละบุคคลมีทั้งส่วนที่เหมือนคนอื่น และส่วนที่ไม่เหมือนใครด้วย ความรักที่ยุติธรรมพิจารณาความจริงทั้งหมดเหล่านี้ แม้ว่าความจริงบางอย่างอาจจะสำคัญกว่าอย่างอื่น ขึ้นกับธรรมชาติของความสัมพันธ์นั้นๆ
หลักการจากความเป็นบุคคล
มีลักษณะ 2 อย่างของความเป็นบุคคล ที่เราต้องนำมาใช้เป็นหลักการในการสร้างจริยธรรม
- เอกราชหรือเสรีภาพส่วนบุคคล (Autonomy or Freedom)
- ความต้องการความสัมพันธ์ (Relationality)
บุคคลเป็นจุดหมายในตัวเอง เรามีเอกราชเพราะเรามีเสรีภาพในการเลือก เลือกที่จะทำสิ่งต่างๆ เลือกที่จะรัก เลือกจุดหมายของชีวิต ไม่ว่าจะเป็นสิ่งที่ดีหรือไม่ดีทั้งกับตัวเองและผู้อื่น
ถ้าเราใช้คนอื่นเป็นทางผ่าน นั่นคือเราได้ใช้เขาเพื่อเป้าหมายของเราเอง เป็นการไม่เคารพเอกราชของบุคคลนั้น
มนุษย์ไม่สามารถอยู่โดยปราศจากความสัมพันธ์กับคนอื่นได้เลย เราก้าวพ้นตัวตนของเราเมื่อเราเรียนรู้ที่จะรักและเข้าใจผู้อื่น ความต้องการความสัมพันธ์เกิดจากทั้งปัจจัยภายนอกและภายในตัวเราเอง เมื่อโลกของเราหลอมรวมกับโลกของผู้อื่น (รวมถึงพระเจ้า) จนเป็นหนึ่งเดียวกัน ได้รู้จักและถูกรู้จัก เป็นทั้งผู้รักและผู้ถูกรัก
จริยธรรมในเรื่องเพศสัมพันธ์ของคริสเตียน
จริยธรรมในเรื่องเพศสัมพันธ์ของคริสเตียนจะต้องเสริมสร้างความจริงเชิงรูปธรรมของบุคคล ในแต่ละเกณฑ์เหล่านี้ ครอบคลุมทั้งความยุติธรรม "ขั้นต่ำ" รวมไปถึงความยุติธรรม "ขั้นสูง" ที่เป็นอุดมคิตอีกด้วย
- ไม่ทำร้ายโดยไม่เป็นธรรม (Do No Unjust Harm)
- ยินยอมอย่างเสรี (Free Consent)
- ความร่วมแรงร่วมใจ (Mutuality)
- ความเท่าเทียม (Equality)
- การผูกพันธะ (Commitment)
- การเกิดผล (Fruitfulness)
- ความยุติธรรมทางสังคม (Social Justice)
คือการให้ความเคารพในตัวบุคคลของผู้อื่น "โดยไม่เป็นธรรม" ในที่นี้กำกับไว้เพราะบางครั้งเราก็หลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดความเจ็บปวดไม่ได้เลย (เช่นจะฉีดยารักษาโรคก็ต้องเจ็บบ้าง) การทำร้ายอาจเกิดขึ้นได้ทั้งทางร่างกาย จิตใจ จิตวิญญาณ หรือความสัมพันธ์ อีกทั้งรวมไปถึงการปฏิเสธที่การช่วยเหลือ การดูแล สนับสนุน ให้เกียรติในเรื่องที่จำเป็นกับบุคคลและความสัมพันธ์นั้น
ในเรื่องเพศ การไม่ทำร้ายนั้นสำคัญมาก เพราะความใกล้ชิดเปิดช่องให้แก่ความอ่อนไหว ร่างกายก็อาจถูกฉวยโอกาส ทารุณ ข่มขืน กักขัง ไม่ได้ปฏิบัติตามหลัก "เพศสัมพันธ์แบบปลอดภัย" ส่วนจิตวิญญาณเราก็อาจะถูกหลอก ทรยศ เอาเปรียบ ล่อลวง รวมไปถึงรู้สึกขาดหาย ไม่เติมเต็ม
เนื่องจากแต่ละคนมีเอกราชของตนเอง เราจึงต้องเคารพการตัดสินใจของเขา นี่ถือเป็นจริยธรรมพื้นฐานในเรื่องเพศสัมพันธ์ ฉะนั้นการข่มขืน การล่อลวง หรือฉวยโอกาสกับคนที่ไม่มีทางเลือก จึงไม่สามารถเป็นที่ยอมรับได้เลย
นอกจากการเคารพการตัดสินใจแล้ว เรายังต้องพูดความจริง รักษาสัญญา และเคาระความเป็นส่วนตัวด้วย ความเป็นส่วนตัวในที่นี้คือการไม่ละเมิดร่างกายหรือทรัพย์สินของคนอื่นจนกว่าจะได้รับการยินยอม การพูดวามจริงและการรักษาสัญญานั้นก็สำคัญเพื่อไม่ให้เกิดการหลอกลวง ซึ่งทำให้การยินยอมไม่อยู่บนความจริงจนเป็นโมฆะไป
เพราะเราเคารพความเป็นมนุษย์ เพศสัมพันธ์จึงจำเป็นต้องมีความร่วมแรงร่วมใจจากทุกฝ่าย ถึงแม้เราอาจจะเรียกฝ่ายหนึ่งว่าเป็น "รุก" และอีกฝ่ายเป็น "รับ" แต่การ "รับ" นั้นไม่ได้เกิดจากการนิ่งเฉย แต่ทั้ง "รุก" และ "รับ" นั้นก็เป็นการร่วมแรงตอบสนองซึ่งกันและกัน เป็นทั้งการให้และการได้รับในตัวเอง เพศสัมพันธ์จึงไม่ใช่แค่การ "ถึงจุดสุดยอด" แต่เป็นการแสวงหาความสัมพันธ์ที่หลอมรวมเป็นหนึ่งเดียว เมื่อทุกฝ่ายมุ่งหวังสร้างความพึงพอใจให้แก่กันและกัน
ทั้งนี้ทั้งนั้น ความร่วมแรงร่วมใจอาจจะไม่สมบูรณ์แบบทุกครั้งไป นั่นก็ไม่ได้แปลว่าเพศสัมพันธ์นั้นจะเป็นสิ่งที่ผิด ขึ้นอยู่กับความเข้าใจและข้อตกลงของทั้งสองฝ่ายด้วย
เสรีภาพที่แท้จริงไม่ได้เกิดแค่จากการยินยอมอย่างเสรีและความร่วมแรงร่วมใจเท่านั้น อีกสิ่งที่สำคัญคือจะต้องมีความเท่าเทียมในความสัมพันธ์ด้วย ความเท่าเทียมที่จำเป็นคือความเท่าเทียมทางอำนาจ หากความสัมพันธ์มีความไม่เท่าเทียมในด้านการเงิน การงาน สังคม อายุอาวุโส ความเข้าใจเรื่องบทบาททางเพศ ก็อาจถูกมองว่าไม่เหมาะสมหรือผิดศีลธรรมได้ เพราะความไม่เท่าเทียมทางอำนาจ ทำให้ฝ่ายหนึ่งอ่อนไหวมากกว่า ต้องพึ่งพาอีกฝ่ายมากกว่า และเหลือทางเลือกน้อยกว่า
กระนั้น ความเท่าเทียมนี้ก็ไม่จำเป็นจะต้องสมบูรณ์แบบ เพียงแต่ต้องใกล้กัน สมดุลกันอย่างพอเหมาะ
ในอดีตการผูกพันธะในความสัมพันธ์มาในรูปแบบของการแต่งงานระหว่างชายหญิง ด้วยเหตุที่สังคมต้องการจัดระบบในการสืบพันธุ์ และควบคุมความต้องการทางเพศส่วนเกิน แต่ในสังคมปัจจุบันที่เปิดกว้างเรื่องเพศมากขึ้น เรากลับพบว่าเพศสัมพันธ์ที่ปราศจากความรักกลับทำให้เกิดความผิดหวังและสิ้นหวังมากขึ้นเรื่อยๆ เราพบว่าพลังของเพศสัมพันธ์นั้นคือพลังแห่งการหลอมรวมเป็นหนึ่งเดียว สิ่งที่เพศสัมพันธ์ร้องหาคือความใกล้ชิดสนิทสนม ซึ่งจะเกิดได้เมื่อมีการผูกพันธะ
ทั้งนี้ทั้งนั้น รูปแบบในการผูกพันธะไม่ใช่สิ่งสำคัญ แต่อย่างน้อยควรมีการตกลงกันว่าจะเคารพหลักจริยธรรมที่กล่าวมาข้างต้น และคำนึงถึงชีวิตที่ครบบริบูรณ์ที่ทุกฝ่ายพึงมี และเติมเต็มความต้องการทางเพศซึ่งกันและกัน
ความรักฝักใฝ่แต่คนรักด้วยกันเองเป็นความรักที่เห็นแก่ตัว และจะทำลายตัวของมันเองเมื่อเราปิดกั้นความสัมพันธ์อื่นๆ ในชีวิต ดังนั้นความรักจึงต้องเกิดผล ผลนี้ไม่ได้จำกัดแค่การสืบเผ่าพันธุ์โดยการให้กำเนิด หรือการรับอุปการะเด็ก แต่คือการธำรงชีวิตที่นอกเหนือจากแค่คนรัก การช่วยเหลือดูแลเลี้ยงดูผู้อื่น
จริยธรรมข้อสุดท้ายนี้ไม่ใช่จริยธรรมที่คู่รักปฏิบัติต่อกัน แต่เป็นจริยธรรมที่เราปฏิบัติต่อคนในสังคม เนื่องมาจากการเคารพความเป็นมนุษย์ของคนทุกคน เราจึงควรปกป้องทุกคนไม่ให้ถูกทำร้ายอย่างไม่เป็นธรรม ให้เสรีภาพในการเลือกความสัมพันธ์ที่ไม่ทำร้ายคนอื่น ในด้านสังคม เราควรคำนึงถึงความเท่าเทียมทางเพศ โดยเฉพาะสิทธิสตรี อคติเกี่ยวกับเพศหรือเชื้อชาติ
สำหรับคู่รัก จริยธรรมข้อนี้ก็รวมไปถึงการไม่ทำร้ายบุคคลอื่นๆ โดยการมีความรับผิดชอบในความสัมพันธ์นั้นๆ บุคคลอื่นๆ นั้นอาจรวมไปถึงเด็กที่อาจจะเกิดขึ้นจากความสัมพันธ์ ความสัมพันธ์อื่นๆ ในชีวิตของคนรัก รวมไปถึงข้อคำนึงเรื่องสาธารณสุขอีกด้วย ไม่มีความรักไหนเป็นแค่ "เรื่องของคนสองคน" อย่างแท้จริง